ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556


วามหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
- IT =information technology คือ เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่งแปลงจัดเก็บประมวลผลและค้นคืนสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถสร้างระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และมีความสลับซับซ้อนได้ และก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบพื้นฐานและหน้าที่หลักของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลเสียก่อน
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป  ที่มา :http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm


มือถือส่งผลสมองทำงานหนักขึ้น



การศึกษาล่าสุดจากนักวิจัยอเมริกันพบว่าการยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาแนบใบหูระหว่างใช้งานมีผลให้สมองทำงานหนักขึ้น โดยการสแกนสมองในกลุ่มตัวอย่างพบสมองส่วนใกล้เคียงใบหูที่ถูกแนบโทรศัพท์มือถือซึ่งต่อสายอยู่มีการเผาผลาญกลูโคสมากขึ้น ถือเป็นเครื่องหมายสะท้อนการทำงานที่หนักขึ้นของสมองส่วนนั้น เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสมองในระยะยาวหรือไม่
       
       แม้ที่ผ่านมา โลกจะยังไม่เคยพบหลักฐานที่ชัดเจนของการเกิดผลเสียต่อสมองมนุษย์จากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ แต่วารสารสมาคมแพทย์อเมริกันหรือ Journal of the American Medical Association ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาจากสถาบัน National Institutes of Health in Bethesda รัฐแมรีแลนด์ ซึ่งมีการตรวจพบการเผาผลาญกลูโคสที่มากกว่าปกติในสมองบริเวณใกล้เคียงใบหูที่มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเที่ยงตรง เนื่องจากทีมศึกษาสรุปข้อมูลจากการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการศึกษาที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
       
       การศึกษานี้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2009 เพื่อพิสูจน์ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือมีผลต่อการทำงานของสมองมนุษย์หรือไม่ วิธีการศึกษาคือการสแกนสมองกลุ่มตัวอย่างที่มีโทรศัพท์มือถือแนบอยู่ที่ใบหูซ้ายและขวาด้วยระบบ PET-scan โดยครั้งแรก ทีมศึกษาจะเปิดการทำงานในโทรศัพท์มือถือด้านใบหูข้างขวาแต่ถูกปิดเสียงไว้ แล้วแนบใบหูกลุ่มตัวอย่างนาน 50 นาที แล้วนำภาพสแกนความเปลี่ยนแปลงของสมองมาเทียบกับการสแกนครั้งที่ 2 ซึ่งทีมศึกษาจะปิดโทรศัพท์มือถือที่แนบอยู่ที่ใบหูทั้ง 2 ข้างของกลุ่มตัวอย่าง

       
       จากการเปรียบเทียบทำให้พบว่า สมองบริเวณใกล้เคียงกับเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือซึ่งเปิดการทำงานอยู่ของกลุ่มตัวอย่างมีอัตราเผาผลาญกลูโคสที่สูงขึ้น (ภาพสแกนในครั้งแรก) แต่กลับไม่เกิดขึ้นในการสแกนครั้งที่ 2 ซึ่งโทรศัพท์ถูกปิดการทำงานอยู่ ทีมศึกษาจึงสรุปว่าสมองของมนุษย์นั้นอ่อนไหวต่อคลื่นสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือ
       
       แม้การค้นพบนี้จะนำไปสู่การจุดประกายครั้งสำคัญในวงการโทรคมนาคม แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนซึ่งทีมวิจัยยอมรับว่าต้องมีการศึกษาที่หลากหลายตามมาอีกมากในอนาคต เช่น การศึกษาว่าผลกระทบต่อสมองที่เกิดขึ้นเป็นผลจากกระแสไฟฟ้าหรือไม่ รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดอันตรายในระยะยาว
       
       บทสรุปในผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ชี้ว่า การใช้งานโทรศัพท์มือถือต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าไว้วางใจ โดยหวังให้ความรู้ใหม่จากการค้นพบที่เกิดขึ้นนำไปสู่การตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจตามมา ซึ่งทีมจะพยายามศึกษาหาความเชื่อมโยงระหว่างโทรศัพท์มือถือและสมองมนุษย์ต่อไป